งานตามภารกิจของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ
ส่วนอำนวยการ
มีหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการ งานบันทึกข้อมูล งานสารบรรณทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ การบริหารงานบุคคล งานด้านการเงินและงบประมาณ (เฉพาะส่วนอำนวยการ) งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการรวบรวมและจัดทำแผนปฏิบัติงาน และติดตามผลการปฏิบัติงานของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ งานด้านพัสดุครุภัณฑ์ งานอาคารสถานที่งานยานพาหนะ งานซ่อมบำรุงรักษาอาคารสถานที่ และงานดูแลบำรุงรักษาระบบต่าง ๆ งานบริหารทั่วไป ดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการของกองส่งเสริม และพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ ปฏิบัติงานอื่น ๆที่มิได้กำหนดเป็นหน้าที่ของส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือ สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมายโดยแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ดังนี้ |
ฝ่ายบริหารทั่วไป
- ดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการ งานบันทึกข้อมูล และงานสารบรรณทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ - ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านบุคคลของกองฯ - ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านการเงินงบประมาณและจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีและประมาณการรายจ่ายเงินทุน หมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินและการทำของ ของส่วนอำนวยการ - ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ - ดำเนินการรวบรวมและจัดทำแผนปฏิบัติงานและติดตามผลการปฏิบัติงานของกองฯ - ดำเนินการจัดทำโครงการฝึกอบรมตามแผนพัฒนาบุคลากรประจำปี - ดำเนินการจัดการข้อร้องเรียนและผลกระทบที่เกิดจากการปฏิบัติราชการของกองฯ รวมทั้งรายงานผลการดำเนินการจัดการข้อร้องเรียน - ดำเนินการรวบรวมและจัดทำโครงการประกวดการพัฒนาองค์กรตามหลักเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ - ดำเนินการเกี่ยวกับสวัสดิการของกองฯ - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
ฝ่ายพัสดุ
- ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยอาคารสถานที่ของกองฯ อาคารที่ทำการ อาคารพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ (ถนนจักรพงษ์) อาคารพิพิธบางลำพู และอาคารพิพิธภัณฑ์ตลาดน้อย - ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาอาคารสถานที่ งานซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบสาธารณูปโภค และครุภัณฑ์ต่าง ๆ ของกองฯ อาคารที่ทำการ อาคารพิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ (ถนนจักรพงษ์) อาคารพิพิธบางลำพู และอาคารพิพิธภัณฑ์ตลาดน้อย - ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง วัสดุ ครุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ และงานจ้างเหมาบริการต่าง ๆ ให้กับส่วนงานต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้มีใช้เพียงพอและสามารถดำเนินงานตามภารกิจของกองฯได้ตามเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ - ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริการขนย้ายทรัพย์สิน และผลิตภัณฑ์ให้กับส่วนงานต่าง ๆ - ดำเนินการเกี่ยวกับงานยานพาหนะราชการของกองฯ - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
ส่วนเก็บรักษาและอนุรักษ์ทรัพย์สิน
มีหน้าที่ความรับผิดชอบดูแล จัดเก็บรักษา จัดทำฐานข้อมูลทะเบียนประวัติทรัพย์สิน และอนุรักษ์ทรัพย์สินในความรับผิดชอบ ของกรมธนารักษ์ให้ปลอดภัยและคงสภาพที่ดีตามหลักวิชาการอนุรักษ์ ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยข้อมูลทางวิชาการด้านการดูแลรักษาทรัพย์สิน รวบรวมและจัดทำคู่มือในด้านการดูแลรักษาทรัพย์สิน สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอนุรักษ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาการปฏิบัติงาน ตลอดจนนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงานด้านการดูแล จัดเก็บรักษา และอนุรักษ์ทรัพย์สินมีค่าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นรวมทั้งปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งงานออกเป็น ๒ ฝ่าย ดังนี้ |
ฝ่ายจัดเก็บและจัดทำฐานข้อมูลทรัพย์สิน
- ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนประวัติประจำทรัพย์สินตามมาตรฐานสากล และนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการจัดทำฐานข้อมูล |
ฝ่ายอนุรักษ์ทรัพย์สิน
- ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บรักษา และอนุรักษ์ทรัพย์สินให้อยู่ในสภาพที่ดีตามหลักวิชาการ - ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยข้อมูลทางวิชาการด้านการจัดเก็บรักษาและอนุรักษ์ทรัพย์สินตามหลักวิชาการ - ตรวจสอบสภาพ คุณลักษณะเฉพาะ และกรรมวิธีการจัดสร้างทรัพย์สินแต่ละประเภท - รวบรวมและจัดทำคู่มือขั้นตอนและกรรมวิธีในการ จัดเก็บรักษาและอนุรักษ์ ทรัพย์สินแต่ละประเภท - สร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือกับสถาบันด้านการอนุรักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด - ให้บริการตรวจพิสูจน์เหรียญกษาปณ์และเงินตราโบราณกับประชาชน หน่วยงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับการประสานงานหรือว่าจ้าง - ให้บริการอนุรักษ์เหรียญกษาปณ์และเงินตราโบราณ รวมทั้งทรัพย์สินอื่น ๆ กับประชาชน หน่วยงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับ การประสานงานหรือว่าจ้าง - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
ส่วนจัดการผลิตภัณฑ์
มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ (จัดหา จัดเก็บ กำกับ และควบคุมดูแล) เกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์และผลิตภัณฑ์
|
ส่วนบริหารเงินทุน
มีหน้าที่ในการควบคุมการรับ – จ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำส่งเงินผ่านระบบ KTB Corporate Online และผ่านระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ (GFMIS) ตรวจสอบและจัดทำบัญชีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของพิพิธภัณฑ์นำส่งเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินและการทำของ สินค้ารับฝากขาย ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งรายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนการจัดทำรายงานงบการเงิน รายงานการเคลื่อนไหวทางการเงิน การจัดทำประมาณการรายรับ-รายจ่ายของเงินทุนหมุนเวียนประจำปี (ส่วนของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ)จัดทำคำขอตั้งงบประมาณการรายจ่ายประจำปี รายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง และประมาณการรายจ่ายเพิ่มเติม (ถ้ามี) จัดทำระบบประเมินผลการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียนฯ ควบคุมการเบิกจ่ายเงินทดรองราชการของเงินทุนหมุนเวียนฯ ควบคุมดูแลและตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวบัญชีเงินฝากธนาคารทุกบัญชี กำกับดูแลด้านการเงินของโครงการเหรียญที่ระลึกต่าง ๆ ที่กรมธนารักษ์จัดทำ และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งงานออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้ |
ฝ่ายบัญชี
- การบันทึกและนำเข้าข้อมูลของเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินและการทำของ ในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ตามแบบ นส 01 เพื่อเป็นการบันทึกรายได้จาก การจำหน่ายสินค้าประจำวันทุกหน่วยจำหน่ายในส่วนกลาง - ดำเนินการจัดทำรายงานงบการเงินและรายงานการเคลื่อนไหวทางการเงิน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน และรายละเอียดประกอบงบการเงินประจำปี ข้อมูลในงบการเงินจะเป็นรายได้ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในส่วนของ กองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ และส่งให้กองกษาปณ์รวบรวมในภาพรวมของเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการ เหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินและการทำของเพื่อส่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบต่อไป - การตรวจสอบและบันทึกข้อมูลในระบบบริหารจัดการเงินนอกงบประมาณ (Non – Budgetary Managememt System) ระบบทุนหมุนเวียน - รายงานทางการเงิน – หัวข้อการนำเข้างบทดลองรายเดือนเป็นการเก็บข้อมูลในส่วนของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่า ของรัฐส่งให้กองกษาปณ์รวบรวมและนำเข้าข้อมูลในภาพรวม - จัดทำข้อมูลแผน-ผลการรับและการใช้จ่ายเงินของเงินทุนกองกษาปณ์นำเข้าข้อมูลในส่วนของกองกษาปณ์ กองส่งเสริม และพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ นำเข้าข้อมูลในส่วนของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ - ตรวจสอบข้อมูลในระบบบริหารการจำหน่ายเหรียญและผลิตภัณฑ์เหรียญ (TPOS) จากหน่วยจำหน่ายทุกหน่วยทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค - ดำเนินการจัดทำทะเบียนต่างๆ.เพื่อควบคุมครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ทรัพย์สินรับบริจาค ทรัพย์สินจัดแสดง รายจ่าย และเจ้าหนี้ต่างๆ - ดำเนินการจัดทำรายงานข้อมูลรายการระหว่างกันของหน่วยงานภาครัฐรวมกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ และกองกษาปณ์เป็นรายไตรมาส และรายปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดทำรายงานการเงินรวมของหน่วยงานภาครัฐ (CFS Program) ตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด และจัดส่งข้อมูลรายงานให้แก่กรมบัญชีกลางทาง E-Mail : cfs@cgd.go.th - การบันทึกและนำเข้าข้อมูลในระบบ EASY-ACC Accounting System – ระบบ Inventory Control ทำคู่ขนาน กับระบบTPOS เป็นการควบคุมภายในเพื่อป้องกันการทุจริต - รายงานต้นทุนสินค้าคงเหลือรายเดือนจำแนกตามประเภทผลิตภัณฑ์เพื่อประกอบงบทดลองรายเดือน และรายปี เพื่อเป็นการ ตรวจสอบยืนยันยอดสินค้าคงเหลือกับหน่วยจำหน่าย และสินค้าที่เบิกมาสำรองเพื่อจำหน่าย - จัดทำรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ เป็นรายเดือนรอบ 5 เดือน และรอบ ๑1 เดือน - จัดทำคำขอประมาณการรายรับ – รายจ่ายของเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน และการทำของประจำปีและประมาณการรายจ่ายเพิ่มเติมในระหว่างปีงบประมาณ ตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ของทุนหมุนเวียน ในส่วนของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐเพื่อใช้ในการบริหารงาน - จัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง และประมาณการรายจ่ายเพิ่มเติม (ถ้ามี) ของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐและจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน ตลอดจนติดตามผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ได้รับ - ดำเนินการติดตามและประเมินผล รวมทั้งการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินทุนหมุนเวียนฯ และเงินงบประมาณโดยเปรียบเทียบ กับเป้าหมายรวมทั้งการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค - จัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี - จัดทำระบบประเมินผลการดำเนินงาน (ตัวชี้วัด) ของเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่า ของแผ่นดินและการทำของรวมทั้งการรายงานผลการดำเนินงานรายไตรมาสและประจำปี - จัดทำงบกระแสเงินสดของเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินและการทำของ (Cash Flow) รายเดือน (ในส่วนของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ) - จัดทำรายงานการรับและการใช้จ่ายเงินที่ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินตามแนวทางปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 170 ส่งกองกษาปณ์รวบรวมในภาพรวม - เตรียมข้อมูลเพื่อจัดการประชุมบอร์ดคณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียน เงินทุนหมุนเวียนเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่า ของแผ่นดินและการทำของ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของเงินทุนฯ รายไตรมาส - ปฏิบัติงานและสนับสนุนงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย |
ฝ่ายการเงิน
- ตรวจสอบใบเสร็จรับเงินจากการจำหน่ายสินค้าของพิพิธภัณฑ์ สินค้าเงินทุนฯ สินค้ารับฝากขาย สินค้าโครงการต่าง ๆ |
ส่วนเผยแพร่
มีหน้าที่ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับทรัพย์สินมีค่าและภารกิจของกรมธนารักษ์ที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กำแพงเมือง - คูเมือง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย รวมถึง ตระหนักถึงความสำคัญและหันมาร่วมกันอนุรักษ์ให้คงสภาพที่ดี ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการนอกสถานที่ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ การจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของทรัพย์สิน การจัดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โดยการมี ส่วนร่วมของชุมชน การออกแบบและจัดทำสื่อเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อวิทยุ -โทรทัศน์การออกแบบผลิตภัณฑ์ การถ่ายภาพ การจัดหาและบำรุงรักษาอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ การทูลเกล้าฯ ถวายเงินและถวายเหรียญ ตลอดจนงานด้านวิเทศสัมพันธ์ และร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งงานออกเป็น ๒ ฝ่าย ดังนี้ |
ฝ่ายเผยแพร่
- ดำเนินการจัดนิทรรศการนอกสถานที่ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และในต่างประเทศ - ดำเนินการจัดโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับทรัพย์สินมีค่า และกิจกรรมเพื่อสังคมและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน - ดำเนินการจัดโครงการกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์กำแพงเมือง-คูเมือง - ดำเนินการกำหนดแนวคิด เนื้อหา และจัดทำข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษสำหรับจัดทำสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง กับทรัพย์สินมีค่าและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหรียญในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ สื่อวิทยุ-โทรทัศน์ - ดำเนินการจัดทำบทความ ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับทรัพย์สินมีค่า และภารกิจของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ เช่น นิตยสาร วารสาร เว็บไซต์ e-museum และ facebook - ดำเนินการงานด้านวิเทศสัมพันธ์ ติดต่อ ประสานกับหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในภารกิจที่เกี่ยวกับกองส่งเสริม และพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ - ดำเนินการแปลและจัดทำคำบรรยายภาษาอังกฤษ สำหรับบทความ บอร์ดและป้ายจัดแสดง ข้อมูลผลิตภัณฑ์เหรียญ และสื่อ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์และงานนิทรรศการต่าง ๆ - ดำเนินการในเรื่องการทูลเกล้าฯ ถวายเงินรายได้จากการจำหน่ายเหรียญ และถวายเหรียญที่กรมธนารักษ์ผลิตขึ้นในโอกาสใหม่ - ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
ฝ่ายศิลปะและโสตทัศนูปกรณ์
- ดำเนินการออกแบบและจัดตกแต่งสถานที่ ออกแบบแผ่นภาพและป้ายประชาสัมพันธ์ เพื่อการจัดแสดงนิทรรศการและการจำหน่าย |
ส่วนจัดแสดง 1 - 4
ส่วนจัดแสดง 1 (พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์)
ส่วนจัดแสดง 2 (พิพิธบางลำพู)
ส่วนจัดแสดง 3 (พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดเชียงใหม่)
ส่วนจัดแสดง 4 (พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ จังหวัดสงขลา)
มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ และศูนย์การเรียนรู้ของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ จัดนิทรรศการถาวรและนิทรรศการหมุนเวียนในพิพิธภัณฑ์ และศูนย์การเรียนรู้ของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ จัดหาทรัพย์สินสำรอง จัดแสดง องค์ความรู้ และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ประกอบการจัดแสดง นำเสนอแนวคิดและแนวทางในการจัดตั้งและบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์หรือศูนย์การเรียนรู้ของกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินมีค่าของรัฐ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้/เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับงานด้านพิพิธภัณฑ์แก่หน่วยงาน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ดำเนินการเกี่ยวกับการต้อนรับนำชม ในพิพิธภัณฑ์ สร้างความร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งเข้าร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งรับผิดชอบงานด้านการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์และบัตรเข้าชมของพิพิธภัณฑ์ (จัดหา จัดเก็บ กำกับ และควบคุมดูแล) และที่ผู้อื่นมาฝากขาย เพื่อจำหน่ายให้ประชาชนผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ ให้แก่เงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินและการทำของ วางแผนการตลาดของพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งจัดเก็บรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ติดตามตรวจสอบข้อมูลการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เพื่อประกอบการเสนอราคาผลิตภัณฑ์ ศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์ กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะและจัดหาผู้มีอาชีพรับจ้าง รวมทั้งออกงานนิทรรศการต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศเพื่อเป็นช่องทางในการเพิ่มรายได้และประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ ตลอดจนปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ดังนี้ |
ฝ่ายจัดแสดง
- วางแผน ศึกษา วิเคราะห์ ค้นคว้าข้อมูล เพื่อดำเนินการจัดนิทรรศการถาวร นิทรรศการชั่วคราว และกิจกรรมต่าง ๆ ณ พิพิธภัณฑ์ |
ฝ่ายคลังและจำหน่ายผลิตภัณฑ์
- ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการให้บริการและการบริหารจัดการร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก หรือร้านค้าในพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้
|
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล